25 พฤศจิกายน 2024

วันที่ 24 มีนาคม 2563เกษตรเมืองนราร่วมบูรณาการหน่วยงานกระทรวงเกษตรร่วมกันประเมินสถานการณ์ใบร่วงยางพารา

วันที่ 24 มีนาคม 2563 เวลา 10.00 น. นายวีรพันธุ์ นิลวัตร เกษตรอำเภอเมืองนราธิวาส มอบหมายให้นายธีรัตน์ ภู่เบญญาพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ พร้อมด้วย นางสาววารุณี แซ่ล๊ก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการกลุ่มอารักขาพืช เข้าร่วมประเมินสถานการณ์และให้คำแนะนำความรุนแรงโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา  ร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตร ได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส สถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาส ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานสหกรณ์นราธิวาส ณ สวนยางของสมาชิกสหกรณ์ชาวสวนบ้านโคกเคียน หมู่ที่ 8 ตำบลโคกเคียน โดยสรุปการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของโรคใบร่วงยางพารา

1.โรคใบร่วงยางพาราพบอาการติดเชื้อในทุกแปลงโดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับการดูแลของเจ้าของสวนสภาพโดยรวมพบว่ามีการระบาดที่ไม่รุนแรงมากนัก

2.จากการสำรวจแปลงที่มีการดูแลรักษาและฉีดพ่นไตรโคเดอร์ม่าทุกๆสัปดาห์ พบว่าอาการของโรคใบร่วงยางพาราลดลงมาก ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าในสวนยางในพื้นที่อื่น พบว่าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสามารถปกคลุมเชื้อใบร่วงยางพาราได้ 

3.พบราแป้งระบาดในสวนยางพาราบางแปลงพบในใบอ่อนอาการของโรค มีลักษณะจุดฝ้าขาวที่ในยางพารา จากนั้นมีอาการเหี่ยว และร่วงในที่สุด เริ่มพบแพร่กระจายในหลายแปลง  

คำแนะนำในการกำจัดราแป้ง

1 ให้ใช้สารเคมีที่มีความเป็นด่าง เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เป็นต้น ฉีดพ่นทรงพุ่ม

2 ใช้ปุ๋ย 21-0-0 เพื่อเร่งการแก่ของใบอ่อน

ปัญหาอุปสรรค    

1. การนำน้ำเข้าไปในพื้นที่ และอุปกรณ์ในการฉีดพ่น ไม่สามารถฉีดพ่นได้ทั่วถึง

2. แปลงที่มีการะบาดมากไม่ได้เป็นแปลงของสมาชิก จึงตามตัวเจ้าของแปลงได้ยาก

แนวทางการปฎิบัติ

1.สร้างการรับรู้เกษตรกรและขอความร่วมมือในพื้นที่ในการเฝ้าระวัง

2. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพารา สร้างความสมบูรณ์ให้แก่ต้นยาง และใช้ระบบการกรีดที่เหมาะสม 

3.คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมและความต้องการในการรักษาโรคใบร่วงยางพาราและสนับสนุนเพื่อเป็นแปลงต้นแบบแก่เกษตรกรในพื้นที่

4.หน่วยงานราชการที่มาทำการทดลองควรมีแผนในการติดตามอย่างต่อเนื่อง

5.หน่วยงานราชการเจ้าของโครงการควรชี้แจงโครงการให้เกษตรกรทราบ ถึงตัวโครงการและแนวทางในการปฎิบัติอย่างชัดเจน

6.หน่วยงานราชการควรแนะนำและสอนให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเก็บผลการทดลองและสามารถติดตามผลได้เพื่อช่วยติดตามผล เพื่อการติดตามผลที่ต่อเนื่อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *